ENERGY REDUCTION
THE LEADER OF ENERGY SAVING
เพิ่มการประหยัดพลังงานให้อยู่ในจุดสูงสุด
บริษัท ซีเทีย จำกัด บริการออกแบบ พัฒนา และให้คำปรึกษา แนวทางการลดค่าไฟของระบบเครื่องปั๊มลมอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อลดค่าไฟรวมภายในโรงงาน โดยมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ พร้อมการวางแผนที่มีระยะเวลาคืนทุนที่คุ้มค่า ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ผลิตสามารถลดค่าใช้จ่ายภายในโรงงานได้กว่า 50% ด้วยคำแนะนำของทีมวิศวกร ที่ผ่านการอบรมด้านพลังงานภายใต้ Atlas Copco Thailand
วิธีการประเมินการลดค่าไฟ
Step A : รวบรวมข้อมูล
ด้วยเทคโนโลยีการจับพฤติกรรมการทำงานของเครื่องปั๊มลม โดยการจับกระแสไฟของการทำงานของเครื่องจักรทั้งระบบ แล้วแปลงกระแสไฟกลับมาเป็นปริมาณการใช้ลม จะทำให้ผู้ใช้เครื่องสามารถทราบข้อมูลได้ดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมการใช้ลม
พฤติกรรมของการใช้ลมในแต่ละช่วงเวลาตลอดระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ เพื่อใช้ประเมินสภาพการใช้งานรวมภายในโรงงาน
2. FLOW DATA
ปริมาณการใช้ลมสูงสุด ต่ำสุด และค่าเฉลี่ย ไปจนช่วง flow range ของการใช้ลมเทียบกับ maximum capacity ของเครื่องจักรทั้งระบบ
3. อัตราส่วนการใช้ลม
ประเมินอัตราส่วนการใช้เครื่องปั๊มลมเป็นรายเครื่อง เพื่อทราบถึงความคุ้มค่าของการใช้เครื่องปั๊มลมในสภาพปัจจุบัน
4. ประเมินค่าไฟรวม
ทราบถึงค่าไฟรวมของระบบเครื่องปั๊มลมทั้งรายสัปดาห์ และรายปี โดยสามารถแบ่งค่าไฟออกเป็น load energy และ unload energy ทั้งรายเครื่อง และแบบรวมทั้งระบบ
Step B : วิเคราะห์
วิเคราะห์ ข้อมูลที่เก็บมาได้ โดยการวิเคราะห์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ ดังนี้
1. ควบคุมจำนวนเครื่องปั๊มลม
ประเมินจำนวนเครื่องจักรรวมปัจจุบัน โดยคำนึงถึงปัจจัยของ reliability และ safety factor รวมไปถึงการวางแผนลดจำนวนเครื่องจักร เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการซ่อมบำรุง
2. พัฒนาการตั้ง Pressure Band
พัฒนาแนวทางการตั้ง pressure band ของระบบปั๊มลมทั้งระบบให้เหมาะสม ไม่มีช่วง pressure band ที่สูงจนเกินไป
3. วิเคราะห์ปั๊มลมทดแทน
ทดลองวิเคราะห์ใช้เครื่องปั๊มลมชนิด inverter ที่สามารถปรับรอบ motor ได้แทนเข้าไปในระบบเดิม สามารถช่วยลดค่าไฟช่วง unload ลงได้
4. Sequencing ระบบปั๊มลม
เชื่อมระบบปั๊มลมเข้าเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้เกิดการแบ่งสรรการทำงานอย่างเท่าเทียม และช่วยลดช่วง pressure band ระบบลมให้แคบลง สามารถลดค่าไฟเฉลี่ยเพิ่มได้อีก 7%
Step C : สรุปแผนพัฒนา
เลือกรูปแบบของการพัฒนาระบบ และแผนการลงทุนสำหรับการพัฒนาระบบภายในโรงงาน ผู้ใช้เครื่องควรเลือกแผนการลงทุนโดยการเรียงลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้
1. ลดจำนวนเครื่องจักร
หาทางลดจำนวนเครื่องปั๊มลมรวมภายในโรงงาน เพื่อให้จำนวนกิโลวัตรรวมไม่สูงเกินจำเป็น
2. ปรับ Pressure Band ระบบ
ควบคุมการตั้ง pressure band ให้ถูกต้องตามหลัก เพื่อให้ช่วง pressure band ระบบแคบที่สุด
3. ลดค่า Unload Energy ระบบ
พัฒนาระบบโดยลดค่า unload energy ด้วยเทคโนโลยี inverter
4. เชื่อมระบบเครื่องปั๊มลม
พัฒนาระบบโดยการเชื่อมระบบปั๊มลมเป็นระบบเดียวกัน (sequencing air compressor)
Energy Saving Product
ปั๊มลม Atlas Copco GA VSD+ โมเดลประหยัดพลังงาน inverter สามารถประหยัดพลังงานเฉลี่ยสูงสุดถึง 50% การใช้ลมที่แปรผันหรือไม่ต่อเนื่อง
Mainline filter ชนิดพิเศษลด pressure drop จากปกติได้สูงถึง 40% ช่วยประหยัดพลังงานและค่าไฟในระยะยาว
อุปกรณ์ sequencing ระบบปั๊มลมให้เป็นระบบเดียวกัน ช่วยในการควบคุมลด pressure band ทั้งระบบลง สามารถลดค่าไฟเพิ่มเฉลี่ยอีก 7%